วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555


แบบทดสอบความรู้ออนไลน์
แบบทดสอบวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
จัดทำโดย
พรนภัส พิมพ์แก้ว ม.3





1.  เมืองหลวงของประเทศนิการากัวมีชื่อว่าอะไร

เบลโมแพน
จากาต้า
กรุงมานากัว
ปอร์โตแปรง


2. ภาษาที่ใช้ในประเทศนิการากัวคือภาษาอะไร

ไทย
สเปน
อังกฤษ
จีน


3.  นิการากัวแบ่งเขตการปกครองออกเป็นกี่จังหวัด และ กี่เขต

25 จังหวัด 4 เขต
15 จังหวัด 2 เขต
14 จังหวัด 6 เขต
15 จังหวัด 3 เขต


4. นิการากัวมีขนาดพื้นที่เท่าไหร่

130,370 ตารางกิโลเมตร
250,000 ตารางกิโลเมตร
1,405,631 ตารางกิโลเมตร
130,541 ตารางกิโลเมตร


5. นิการากัวได้รับอิสรภาพจากประเทศอะไร

ไทย
เบลีซ
สเปน
สหรัฐอเมริกา


6. สินค้าที่ส่งออกจากประเทศนิการากัวคืออะไร

สิ่งทอและเครื่องตกแต่งเสื้อผ้า
หนังสัตว์ กาแฟ
น้ำมันดิบ
เครื่องจักรสาน


7. นิการากัวนับถือศาสนาอะไร

คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
อิสลาม
พรามณ์ฮินดู
พุทธ


8. นิการากัวมีจำนวนประชากรเท่าไหร่

25.2 ล้านคน
3.4 ล้านคน
14 ล้านคน
5.67 ล้านคน


9. นิการากัวมีระบบการปกครองแบบใด
ประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ
กฎหมายคุ้มครอง
ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
การปกครองแบบรัฐบาลรวม


10.






11.






12.






13.






14.






15.








ผลคะแนน =
เฉลยคำตอบ:




วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประเทศนิการากัว


1. ข้อมูลประเทศทั่วไป
1.1 รูปภาพ ทำเลที่ตั้งของประเทศ
ประเทศนิการากัวเป็นประเทศมีพื้นที่มากที่สุดในอเมริกากลาง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุด มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศฮอนดูรัส ทางใต้จรดประเทศคอสตาริกา ชายฝั่งตะวันตกจรดมหาสมุทรแปซิฟิก ส่วนชายฝั่งตะวันออกจรดทะเลแคริบเบียน
1.2 ชื่อเป็นทางการ     สาธารณรัฐนิการากัว  (ภาษาสเปน: Repblica de Nicaragua)
1.3 เมืองหลวง        กรุงมานากัว (Managua) มีประชากรประมาณ 1.8 ล้านคน
1.4 ขนาดพื้นที่         130,370 ตารางกิโลเมตร (ใกล้เคียงกับขนาดของประเทศกรีซ)
1.5 ประชากร         5.67 ล้านคน
1.6 ทรัพยากรธรรมชาติ  ทองคำ เงิน ทองแดง ทังเสตน ตะกั่ว สังกะสี ป่าไม้ และประมง
1.7 ประวัติศาสตร์ ได้ประกาศอิสรภาพจากสเปนในวันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1821 แต่ได้รับการ
ยอมรับในวันที่  25 กรกฎาคม ค.ศ. 1850
เชื้อชาติ          เมสติโซ (ผิวขาวผสมอินเดียน) ร้อยละ 69 ผิวขาว ร้อยละ 17 ผิวดำร้อยละ 9
และอเมริกัน-อินเดียน ร้อยละ 5
ศาสนา         คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ร้อยละ 58.5 คริสต์นิกายอื่นๆ ร้อยละ 24 และมี
ชาวพุทธอยู่ร้อยละ 0.1
ภาษา            ภาษาทางการคือภาษาสเปน มีภาษาพื้นบ้านคือ Creole Miskito Sumo และ Rama
ดอกไม้ประจำชาติ ลีลาวดี

ประธานาธิบดี - Daniel Ortega (พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน)

เงินประเทศนิการากัว


1.8 ระบอบการปกครอง
นิการากัวมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประธานาธิบดีเป็นประมุขรัฐและผู้นำรัฐบาล นายแดนเนียน ออร์เตกา ซาเวดรา Daniel ORTEGA Saavedra ได้เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 10 มกราคม ค.ศ. 2007 วาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ฝ่ายนิติบัญญัติมีสภาเดี่ยว ตำแหน่งผู้แทนสภา 92 ตำแหน่ง ระบบการเมืองเป็นระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (multiparty) และแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 15 จังหวัด (departamentos) กับ 2 เขตปกครองตนเอง
1.9 ระบบคมนาคมขนส่งภายในประเทศ
มีเส้นทางถนนจำนวน 19,137 กิโลเมตร สนามบิน  143 แห่ง สนามบินระหว่างประเทศ คือ Augusto C. Sandino International Airport ที่กรุงมานากัว มีความสามารถรับผู้โดยสารได้ 1.1 ล้านคนต่อปี สายการบินสำคัญคือ สายการบิน Nicaragense de Aviacin (NICA) เส้นทางน้ำ  2,220 กิโลเมตร มีทะเลสาบใหญ่ 2 แห่ง คือ ทะเลสาบมานากัว และทะเลสาบนิการากัว มีท่าเรือทั้งหมด 7 แห่ง แต่ท่าเรือที่สำคัญคือท่าเรือ Bluefields ฝั่งทะเลแคริเบียน และท่าเรือ Corinto ฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก นอกจากนี้แล้ว ยังมีระบบท่อส่งน้ำมันความยาว 54 กิโลเมตร
2. ข้อมูลพื้นฐานเศรษฐกิจโดยทั่วไป
2.1 ข้อมูลพื้นฐานของประเทศนิการากัว
ประเทศนิการากัวเป็นประเทศที่มีฐานะยากจนที่สุดในภูมิภาคอเมริกากลาง มีอัตราการว่างงานและความยากจนสูง เนื่องจากตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองแบบผูกขาดเป็นระยะเวลาร่วม 30 กว่าปี ตามด้วยปัญหาการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในระยะต่อมา การเข้าร่วมเขตการค้าเสรีคาฟต้ากับประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 2006 ได้ช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้าเกษตรและสินค้าอุตสาหกรรมบางกลุ่ม โดยเฉพาะสิ่งทอและเสื้อผ้า แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี Ortega ซึ่งมีความคิดเห็นโน้มเอียงไปทางฝ่ายซ้าย และมีความใกล้ชิดกับผู้นำของประเทศเวเนซุเอลา ได้เพิ่มค่าแรงงานขั้นต่ำและส่งเสริมการร่วมทุนกับรัฐวิสาหกิจจากประเทศเวเนซูเอลาเพิ่มขึ้น ทำให้บรรยากาศการลงทุนเสื่อมสภาพลง ชาวนิการากัวได้ย้ายถิ่นฐานหนีปัญหาการเมืองและสภาวะความยากจนเป็นล้านคน นิการากัวจึงพึ่งการส่งเงินกลับจากแรงงานในต่างประเทศเป็นสัดส่วนร้อยละ 15 ของผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญของนิการากัวคือภาระหนี้ระหว่างประเทศที่สูงซึ่งทำให้งบดุลขาดดุลมาโดยตลอด ซึ่งในปี ค.ศ. 2004 ได้รับความช่วยเหลือในการปรับลดหนี้และเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของ IMF นิการากัวได้เริ่มฟื้นฟูจากวิกฤตการณ์เศรษฐกิจ และคาดว่าจะขยายตัวได้ในอัตราร้อยละ 3 ในปี ค.ศ. 2011
3. ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของนิการากัว
3.1 ภาพรวมสถานการณ์ทางการค้าของประเทศนิการากัว
ในปี ค.ศ. 2010 นิการากัวมีมูลค่าการส่งออกรวม 8.47 พันล้านเหรียญสหรัฐ  เพิ่มขึ้นจากการส่งออกในปี 2009 ร้อยละ 17 คู่ค้าการส่งออกที่สำคัญได้แก่ ประเทศสหรัฐฯ ในสัดส่วนร้อยละ 61.9 เอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 7.7 และคอสตาริกา ร้อยละ 3.7 สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ กาแฟ เนื้อวัว กุ้งและกุ้งกาม ยาสูบ น้ำตาล ทองคำ ถั่ว สิ่งทอและเสื้อผ้า
การนำเข้าในปี 2010 มีมูลค่า 12.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นร้อยละ 9.8 โดยมีแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 22.6 เวเนซุเอลา ร้อยละ 12.3 เม็กซิโก ร้อยละ 9 คอสตาริกา ร้อยละ 8.7 จีน ร้อยละ 7.2 กัวเตมาลา ร้อยละ 7 และเอลซัลวาดอร์ ร้อยละ 5.6 โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญคือ สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรและอุปกรณ์ วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์น้ำมัน
4. สินค้าหลักที่ไทยส่งออกไปยังประเทศนิการากัว และสินค้าหลักที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว
สินค้าที่ไทยส่งออกไปนิการากัว คือ รถยนต์และชิ้นส่วน สิ่งทอและสินค้าตกแต่งเสื้อผ้า สินค้าอาหารทะเลแปรรูป เครื่องซักผ้า/อบผ้าและชิ้นส่วน เคมีภัณฑ์ สินค้ายาง และชิ้นส่วนเครื่องจักร  ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากนิการากัว ได้แก่ หนังสัตว์ เสื้อยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูป เนื้อ ผักผลไม้ มอเตอร์ไซค์และชิ้นส่วน กาแฟ ยาและผลิตภัณฑ์เภสัช และเส้นลวด
สินค้าส่งออก/นำเข้าสำคัญระหว่างไทยกับนิการากัว
มูลค่า: เหรียญสหรัฐฯ
5. การท่องเที่ยวในนิการากัว

การท่องเที่ยวในนิการากัวได้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2005 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปเที่ยวนิการากัวจำนวน 803,933 คน เพิ่มจากจำนวน 579,165 คนในปี 2002 ในปีเดียวกันนั้น นิการากัวได้มีรายได้จากการท่องเที่ยวมูลค่า 240.0 พันล้านเหรียญสหรัฐ นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มาจากประเทศสหรัฐฯ ยุโรป และกลุ่มประเทศในลาตินอเมริกา ในปี 2010 ได้มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางไปยังนิการากัวประมาณ 1 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2009 ร้อยละ 8.7 และได้มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2011 จะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางไปนิการากัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9 หรือเป็นจำนวนรวม 1.1 ล้านคน นิการากัวมีจำนวนห้องพักรวมประมาณ 9,000 ห้อง อัตราการเข้าพัก ประมาณร้อยละ 80 และกลุ่มโรงแรมของเสปน NH Hoteles  ได้แสดงความสนใจที่จะลงทุนสร้างโรงแรมห้องพักเพิ่มเติมในนิการากัว

แผนที่ประเทศนิการากัว

ที่มา: http://www.depthai.go.th










ประเทศเบลีซ






เบลีซ (อังกฤษBelize) เป็นชาติขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง ริมทะเลแคริบเบียน มีอาณาเขตจรดประเทศเม็กซิโกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และจรดประเทศกัวเตมาลาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ มีประเทศฮอนดูรัสเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง ห่างออกไปเพียง 75 กิโลเมตร (47 ไมล์) ตามอ่าวฮอนดูรัสทางด้านตะวันออก
เบลีซมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ มีสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักรเป็นประมุขพระองค์ปัจจุบัน
ชื่อประเทศมีต้นกำเนิดมาจากชื่อแม่น้ำเบลีซ ซึ่งเมืองเบลีซซิตี (เมืองหลวงเก่า) ก็ได้ชื่อมาจากแม่น้ำนี้ด้วยเช่นกัน ในภาษาสเปนมักจะเรียกว่า Belice เบลีซเคยเป็นอาณานิคมของสหราชอาณาจักรเป็นเวลานานกว่าศตวรรษ โดยเป็นที่รู้จักกันในชื่อ บริติชฮอนดูรัส จนถึงปี พ.ศ. 2516 และมีฐานะเป็นชาติเอกราชในปี พ.ศ. 2524
เบลีซเป็นสมาชิกของประชาคมแคริบเบียน (CARICOM) และ the Sistema de Integracion Centro Americana (SICA) และจัดว่าตนเองอยู่ทั้งในกลุ่มประเทศแคริบเบียนและอเมริกากลาง

ชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ
เบลีซ หรือ Belize
ที่ตั้ง
อยู่ในภูมิภาคอเมริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับทะเลแคริบเบียน ทิศเหนือติดกับเม็กซิโก ส่วนทิศตะวันตกติดกับกัวเตมาลา
พื้นที่
22,966 ตารางกิโลเมตร พื้นดิน 22,806 ตารางกิโลเมตร น้ำ 160 ตารางกิโลเมตร
อาณาเขต
มีพรมแดนยาว 516 กิโลเมตร ติดกับกัวเตมาลา 266 กิโลเมตร เม็กซิโก 250 กิโลเมตร ความยาวชายฝั่งเท่ากับ 386 กิโลเมตร
สภาพภูมิประเทศ
ส่วนใหญ่เป็นป่าเขตร้อน มีที่ราบลุ่มบริเวณชายฝั่งทะเล มีเนินเขาทางตอนใต้
สภาพภูมิอากาศ
เป็นเขตร้อนชื้น อากาศร้อนและชื้นมาก ฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกุมภาพันธ์
ทรัพยากรธรรมชาติ
ป่าไม้, ประมง, พลังงานไฟฟ้าจากน้ำ ไม้ซุง
ภัยธรรมชาติ
เกิดเฮอร์ริเคนที่มีความรุนแรงหลายครั้ง (ระหว่างเดือนมิถุนายน-เดือนพฤศจิกายน) และเกิดน้ำท่วมบริเวณชายฝั่ง (โดยเฉพาะชายฝั่งทางตอนใต้)
จำนวนประชากร
327,719 คน (ค่าประมาณ เดือนกรกฏคมคม พ.ศ. 2555)
อัตราการเติบโตของประชากร
2.011% (ค่าประมาณ พ.ศ. 2555)
สัญชาติ
Belizean (s)
เชื้อชาติ
Mestizo (เลือดผสมผิวขาวกับคนพื้นเมือง) 48.7% ผิวดำ 24.9% ชาวพื้นเมืองเผ่ามายา 10.6%
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก (49.6%) นิกายโปรเตสแตนส์ (27%) Pentecostal (7.4%) แองกลิกัน (5.3%) เมโทรดิส (3.5%) อื่นๆ (14%) ไม่นับถือศาสนาใด (9.4%) อื่นๆ (6%)
ภาษา
สเปน 46% Creole 32.9% ภาษาถิ่นของชาวพื้นเมืองมายัน 8.9% ภาษาอังกฤษ 3.9% (ภาษาราชการ) Garifuna 3.4% ภาษาเยอรมัน 3.3% อื่นๆ 1.4% ไม่ทราบ 0.2%
ดอกไม้ประจำชาติ ดอกกล้วยไม้สีดำ
§  ประมุข - สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบทที่ 2 (พ.ศ. 2524 – ปัจจุบัน)
§  ผู้สำเร็จราชการแทน - คอลวิลเล (พ.ศ. 2536 – ปัจจุบัน)
§  นายกรัฐมนตรี - ดีน บาร์โรว (พ.ศ. 2551 – ปัจจุบัน)


สกุลเงินดอลลาร์เบลีซ



รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ประมุขของประเทศ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเอลิซาเบธที่สอง ทรงใช้พระราชอำนาจโดยผ่านทางผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ประจำเบลิซ (Governor-General) ผู้สำเร็จราชการ Sir Colville YOUNG (ตั้งแต่ 17 พฤศจิกายน 2536) หัวหน้ารัฐบาล นายกรัฐมนตรี นาย Dean Barrow(เข้ารับตำแหน่ง 8 กุมภาพันธ์ 2551) มีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี ฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองที่มีเสียงข้างมากจะได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จ ราชการ ส่วนคณะรัฐมนตรี ได้รับการเสนอชื่อโดยนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งโดยผู้สำเร็จราชการ ฝ่ายนิติบัญญัติ เป็นระบบสภาคู่ ประกอบด้วย 1) วุฒิสภา มีสมาชิกจำนวน 12 คน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี 2) สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิกจำนวน 31 คน ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี การเลือกตั้งครั้งต่อไป 2556 ฝ่ายตุลาการ หัวหน้าผู้พิพากษาได้รับการแต่งตั้งจากผู้สำเร็จราชการ โดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี พรรคการเมืองสำคัญ People's United Party ( PUP) (พรรครัฐบาล)United Democratic Party (UDP)
สถานที่ท่องเที่ยว
The Great blue hole หรือที่เรียกกันว่า โคตรหลุมน้ำเงินคราม แห่งเบลีซ มีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ใน ประเทศเบลีซ (Belize) เป็นชาติขนาดเล็ก ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของอเมริกากลาง ริมทะเลแคริบเบียน 

สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไป



แผนที่ประเทศเบลีซ

http://www.mapsofworld.com